งานส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

งานส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นพืชเศรษฐกิจหลักของสระบุรีในลำดับที่ 3 ข้าวโพดเลี้ยวสัตว์ นับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของจังหวัด เนื่องจากมีการเลี้ยงปศุสัตว์จำนวนมาก โดยเฉพาะโคนม โคเนื้อ สุกร และสัตว์ปีก เป็นต้น ทำให้มีความต้องการพืชอาหารสัตว์จำนวนมาก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะข้าวโพดสดทั้งต้นพร้อมฝัก จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สำคัญของเกษตรกรชาวจังหวัดสระบุรี


Database : ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์


แผนที่ศักยภาพที่ดินพืชเศรษฐกิจ “ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์” จังหวัดสระบุรี

การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

  • ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1)
    มีเนื้อที่ 15,404 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.00 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากในเขต
    อ.บ้านหมอ 6,970 ไร่ อ.หนองโดน 2,111 ไร่ และ อ.เฉลิมพระเกียรติ 1,932 ไร่
  • ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2)
    มีเนื้อที่ 541,395 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 35.21 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากในเขต
    อ.มวกเหล็ก 137,610 ไร่ อ.แก่งคอย 127,178 ไร่ และ อ.วังม่วง 107,138 ไร่
  • ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3)
    มีเนื้อที่ 152,460 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 9.92 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากในเขต
    อ.มวกเหล็ก 105,967 ไร่ อ.แก่งคอย 22,540 ไร่ และ อ.วังม่วง 14,812 ไร่
  • ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N)
    มีเนื้อที่ 828,223 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 53.87 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน

แผนที่พื้นที่ปลูก “ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์” จังหวัดสระบุรี

การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในปัจจุบัน

  • ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1)
    มีเนื้อที่ 1,652 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.98 ของพื้นที่ศักยภาพสูง พบกระจายในเขต
    อ.เฉลิมพระเกียรติ 933 ไร่ อ.บ้านหมอ 524 ไร่ และ อ.พระพุทธบาท 140 ไร่
  • ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2)
    มีเนื้อที่ 117,359 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 69.36 ของพื้นที่ศักยภาพปานกลาง พบมากในเขต
    อ.พระพุทธบาท 36,300 ไร่ อ.มวกเหล็ก 26,686 ไร่ และ อ.แก่งคอย 21,370 ไร่
  • ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3)
    มีเนื้อที่ 42,550 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 25.15 ของพื้นที่ศักยภาพเล็กน้อย พบมากในเขต
    อ.มวกเหล็ก 36,721 ไร่ อ.วังม่วง 3,058 ไร่ และ อ.แก่งคอย 1,547 ไร่
  • ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N)
    มีเนื้อที่ 7,628 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 4.51 ของพื้นที่ศักยภาพ ไม่เหมาะสม

ที่มา : กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ , 2564