อำนาจและหน้าที่

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานเกษตรจังหวัด

1) ศึกษา วิเคราะห์ และวางแผนการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร องค์กรเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน
2) ส่งเสริมและประสานการถ่ายทอดความรู้ด้านการผลิต การจัดการผลผลิต และการพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร
3) ประสานการดำเนินงานเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาด้านการผลิตของเกษตรกร
4) กำกับ ดูแล และสนับสนุนการปฏิบัติงานของสำนักงานเกษตรอำเภอ
5) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

แบ่งงานภายในออกเป็น 4 กลุ่ม 1 ฝ่าย ซึ่งได้กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบไว้ดังนี้


กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต

1) ศึกษา พัฒนา และวางแผนการส่งเสริมการผลิตและจัดการผลผลิตการเกษตร
2) ศึกษา พัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต และจัดการผลผลิตการเกษตรที่เหมาะสมกับท้องถิ่น
3) ดำเนินการส่งเสริม และประสานการถ่ายทอดความรู้ด้านการผลิตและจัดการผลผลิต และการให้บริการทางการเกษตร
4) ดำเนินการตามแผนงาน โครงการและมาตรการด้านการส่งเสริมการผลิต การจัดการผลผลิตและการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร และประสานการแก้ไขปัญหาการผลิตของเกษตรกร
5) ประสานงาน และดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ และโครงการส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่เฉพาะ
6) สนับสนุนการดำเนินงานและพัฒนาเจ้าหน้าที่ระดับอำเภอในการปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมการผลิตและจัดการผลผลิต
7) ติดตามประเมินผล และรายงานผลการส่งเสริมการผลิตและจัดการผลผลิตในจังหวัด
8) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย


กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร

1) ศึกษา พัฒนา และวางแผนการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร องค์กรเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน
2) ส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนของชุมชน องค์กรเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน
3) ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานด้านการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนและเครือข่าย
4) ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ขององค์กรเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน
5) สนับสนุนการดำเนินงานและพัฒนาเจ้าหน้าที่ระดับอำเภอในการปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร องค์กรเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน
6) ติดตามประเมินผลการดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร องค์กรเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนในจังหวัด
7) ประสานงาน และดำเนินงานเกี่ยวกับการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยธรรมชาติ
8) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย


กลุ่มอารักขาพืช

1) ศึกษา วิเคราะห์ และวางแผนการดำเนินงานด้านการอารักขาพืช และงานดินปุ๋ยในจังหวัด และดำเนินการตามแผนงาน โครงการและมาตรการด้านการอารักขาพืช
2) สำรวจ ติดตาม เฝ้าระวังการระบาดของศัตรูพืช และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการระบาดของศัตรูพืช
3) ศึกษา พัฒนา รูปแบบและวิธีการจัดการศัตรูพืชที่เหมาะสมกับท้องถิ่น และถ่ายทอดเทคโนโลยีการอารักขาพืชและงานดินปุ๋ยให้กับเจ้าหน้าที่ระดับอำเภอและเกษตรกร
4) ให้บริการตรวจวินิจฉัยศัตรูพืชและให้คำปรึกษาแนะนำด้านเทคโนโลยีการอารักขาพืชและงานดินปุ๋ย
5) ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงานด้านการอารักขาพืช และงานดินปุ๋ยในจังหวัด
6) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย


กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ

1) ศึกษา วิเคราะห์ และดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรด้านการผลิตพืช การพัฒนาอาชีพของเกษตรกร และส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เพื่อผนวกเป็นแผนพัฒนาจังหวัดของผู้ว่าราชการจังหวัด และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบรูณาการงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรในจังหวัด
2) พัฒนาสารสนเทศระดับจังหวัด รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์การปลูกพืช ผลผลิตการเกษตร วิสาหกิจชุมชน และข้อมูลอื่น ๆ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และประชาสัมพันธ์งานส่งเสริมการเกษตรในระบบสารสนเทศ
3) ศึกษา พัฒนาวิธีการดำเนินงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร ปรับปรุงกระบวนการทำงานในพื้นที่พัฒนาบุคลากรและสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาในจังหวัด
4) สนับสนุนการปฏิบัติงานของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนของชุมชน
5) สนับสนุนสำนักงานเกษตรอำเภอในการจัดทำแผนงาน/โครงการส่งเสริมการเกษตร และการจัดทำข้อมูลสารสนเทศระดับอำเภอ
6) ติดตาม ประเมินผล รวบรวม และรายงานผลการดำเนินงานในภาพรวมของสำนักงานเกษตรจังหวัด
7) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย


ฝ่ายบริหารงานทั่วไป

1) ปฏิบัติงานด้านงานธุรการ งานสารบรรณ งานพิมพ์และแจกจ่ายเอกสาร และการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2) ดำเนินการเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี พัสดุ งานดูแลอาคารสถานที่ และยานพาหนะ
3) ดำเนินการเกี่ยวกับงานบริหารงานบุคคล
4) บริหารจัดการงบประมาณประจำปี และควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงาน
5) ดำเนินการเกี่ยวกับการประชุมของหน่วยงาน
6) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

ที่มา : กองการเจ้าหน้าที่